แนวคิด

"ความรู้ยังมีขอบเขต........

แต่จินตนาการ......ไร้ขอบเขต"

กิจกรรมวันวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2553

วันวิทยาศษสตร์ในปีนี้ผมไม่ค่อยมีเวลาว่าง เพราะทางโรงเรียนมีกิจกรรมอื่นๆ ที่ต้องเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก เลยไม่ได้จัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้นักเรียนได้เข้าร่วมมากมายเท่าไรนัก จะมีก็แต่การแข่ง ข.ไข่...ตกไม่แตก (ซึ่งก็คือการแข่งขันโยนไข่จากที่สูงแล้วไม่ให้แตกนั่นเอง) นักเรียนได้ให้ความสนใจและเข้าร่วมแข่งขันกันหลายทีม แต่ละทีมก็งัดเอาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของตนเองออกมาใช้ในการออกแบบอุปกรณ์ที่จะช่วยไม่ให้ไข่ของทีมตัวเองแตก



กติกาในการแข่งขันครั้งนี้มีอยู่ว่า

1. ผู้เข้าแข่งขันจะต้องโยนไข่พร้อมอุปกรรณ์จากชั้นที่ 4 ของอาคารเรียน (ความสูงประมาณ 30 เมตร) โดยไม่ให้ไข่แตกหรือเกิดรอยร้าว

2. ไข่ที่ใช้จะต้องเป็นไข่ไก่เบอร์ 0 (ไข่จะสุกหรือดิบก็ได้)

3. น้ำหนักโดยรวมทั้งไข่และอุปกรณ์จะต้องม่เกิน 300 กรัม

4. นักเรียนจะต้องโยนไข่ให้ตกภายในบริเวณที่กำหนดให้เท่านั้น

5. ไข่พร้อมอุปกรณ์ของทีมใดมีน้ำหนักเบาที่สุด และตกไม่แตกถือว่าเป็นผู้ชนะ 


*** ผู้ชนะจะได้รับเกียรติบัตรจากทางโรงเรียน ***


ก่อนการแข่งขันก็มาฟังกติกาและขั้นตอนกันอีกสักครั้ง

  
 ทำการลงทะเบียนและชั่งน้ำหนัก


จุดที่ปล่อยก็สูงเอาเรื่อง (ประมาณ  30  เมตร) 


นักเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขันมีจำนวนมากพอสมควร


ฝึกให้นักเรียนสามารถจัดกิจกรรมได้ด้วยตนเอง


พร้อมแล้ว.......โยน !!!


ลงแบบ.....นิ่มๆ


อ้าว....ทำไมมันลอยมาทางนี้



บรรยากาศการแข่งขัน

ใช้เวลาทำการแข่งขันอยู่ประมาณครึ่งวัน  ก็เป็นอีกวันที่พวกเราได้สนุกกันแบบเรียนปนเล่น  คราวหน้าจะเป็นกิจกรรมอะไรนั้น......โปรดติดตามตอนต่อไป !!!




ปรากฎการณ์ "พระอาทิตย์ทรงกลด"

ช่วงนี้ท้องฟ้าแถวโรงเรียนเกิดปรากฎการณ์บางอย่างบ่อยมาก (แทบจะทุกอาทิตย์เลยก็ว่าได้)  ปรากฎการณ์นั้นก็คือ  "พระอาทิตย์ทรงกลด"  หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า  "Sun  halo"

ภาพจาก :  http://atcloud.com/stories/75222


ปรากฏการณ์พระอาทิตย์ทรงกลด (Sun halo)  มีลักษณะเป็นภาพสะท้อนพระอาทิตย์หลายๆ ดวงซ้อนกัน  ซึ่งจะมีขนาดโตกว่าปกติ  และมีรัศมีสีรุ้งโดยรอบ  

ปรากฏการณ์พระอาทิตย์ทรงกลด (Sun halo)  เกิดจากบรรยากาศของโลกในชั้น โทรโพสเฟียร์ (Troposphere)  ซึ่งเป็นชั้นบรรยากาศชั้นล่างสุดและเป็นที่อยู่ของกลุ่มเมฆจำนวนมาก  ชั้นบรรยากาศชั้นนี้จะมีอากาศเย็นจัดตั้งแต่ช่วงเช้าตรู่ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น  บางครั้งอาจทำให้ละอองน้ำในอากาศ ณ เวลานั้นๆ แข็งตัวเป็นเกล็ดน้ำแข็งอนุภาคเล็กๆ จำนวนมหาศาลลอยอยู่บนท้องฟ้า  เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นและส่องแสงทำมุมที่เหมาะสมกับเกล็ดน้ำแข็ง  ทำให้เกิดการหักเหและการสะท้อนของแสงเกิดเป็นแถบสีรุ้ง (Sprectrum)  คล้ายการเกิดรุ้งกินน้ำหลังฝนตกขึ้น

ภาพจาก :  http://atcloud.com/stories/75222


ความเชื่อเกี่ยวกับพระอาทิตย์ทรงกลดของไทย

คนไทยนับถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดาเบื้องบนองค์หนึ่ง  สังเกตจากการเรียกนำหน้าว่า “พระ” ส่วน "กลด"  ก็คือร่มขนาดใหญ่ที่มีผ้ามุ้งเย็บติดบิเวณชายโดยรอบ  เป็นเครื่องบริขารของพระสงฆ์ถือเป็นของสูง  เช่น  กลดของพระธุดงค์  ปรากฏการณ์นี้จึงเปรียบได้กับดวงอาทิตย์กำลังกางร่มที่ทำจากรุ้งนั่นเอง  จึงถือเป็นเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์  เป็น  “มหิธานุภาพ”  ของดวงอาทิตย์  มีความหมายในทางที่ดี  มีมงคลแก่ทุกคนบนโลก 



เชื่อมโยงความรู้กันหน่อย !!!

ในวันที่เกิดพระอาทิตย์ทรงกลดจะเป็นวันที่อากาศไม่ร้อนจัด  ไม่มีฝนตกแบบฉับพลันอย่างแน่นอน  เว้นแต่จะมีลมพายุที่พัดเอาเมฆฝนจากที่อื่นมา  จึงสามารถจัดกิจกรรมหรือประเพณีในวันที่มีพระอาทิตย์ทรงกลดได้ดี

 
พระอาทิตย์ทรงกลด  ณ  โรงเรียนเทศบาลวังสะพุง 1   



 

ไม่รู้ว่าวันที่เกิดพระอาทิตย์ทรงกลดจะเป็นฤกษ์ดีจริงหรือเปล่า  แต่ที่รู้แน่ๆ ก็คือ  เมื่อเราได้เห็นปรากฎการณ์นี้แล้ว  รู้สึกว่าโลกของเรานี้มีอะไรที่สวยงามและน่าอัศจรรย์อยู่อีกมากมาย ..... ขอบคุณที่มีปรากฎการณ์ดีๆ อย่างนี้มาให้เราเห็น  แค่นี้ก็ถือว่าเป็นวันดีๆ สำหรับพวกเราแล้วครับ


ข้อมูลจาก

http://th.wikipedia.org/wiki/อาทิตย์ทรงกลด
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9490000077249
http://www.baanjomyut.com/library/wonderful_solar_system/03.html
http://sci4fun.com/skyobserve/skyobserver.html
http://sci4fun.com/skyobserve/2010gallery.html

สุริยุปราคา วันที่ 22 กรกฎาคม 2552

พวกเราสนุกกันมากกับการสร้างกล้องและแว่นเพื่อดูสุริยุปราคา  ถึงแม้ว่าวันนั้นท้องฟ้ามีเมฆมากมีเวลาแค่ไม่กี่นาทีที่พวกเราได้ชมสุริยุปราคาแบบบางส่วน  แต่ก็เป็นสุริยุปราคาที่สวยงามมากสำหรับพวกเรา









นักวิทยาศาสตร์น้อย



ด.ช.ธีรนันท์  อุตวงค์ (พีท)
ผู้พบซากฟอสซิลฟองน้ำ (Sponge)



ด.ช. ฉัตรมงคล  สารวงษ์ (ยิว)
ผู้พบซากฟอสซิลหอยตะเกียง (Lamp shell , Brachiopod)






ด.ช. อดิศักดิ์  สุวรรณสนธิ์ (แฟร้งค์)
ผู้พบซากฟอสซิลหอยที่ยังไม่ทราบชนิด (unknow)




ด.ช. ราชณศักดิ์  บัวระภา (ฟร้องค์)
ผู้พบซากฟอสซิลหอยสองฝา






  
ด.ช. สหนิติ  สีหากุล (ริว)
ผู้พบซากฟอสซิลหอยตะเกียง (Lamp shell , Brachiopod)




ด.ช. ธนากร  ไชยพิลา (ใหม่)


ฟอสซิลหอยตะเกียง (Lamp shell , Brachiopod)


ฟอสซิลเบ้าของหอยงวงช้าง

ฟอสซิลไตรโลไบต์

ฟอสซิลหอยฝาเดียว


ฟอสซิลที่ยังไม่ทราบชนิด (unknow)


ฟอสซิลหอยตะเกียง (Lamp shell , Brachiopod)


ฟอสซิลหอย


 
 ฟอสซิลหอย



Play  +  Lern  =  Plern  (เพลิน)

เพราะวิทยาศาสตร์ของพวกเราไม่ใช่การเรียน  แต่เป็นการเล่น....???
การเล่นที่ทำให้เกิดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์




ผู้จัดทำ

รูปภาพของฉัน
โรงเรียนเทศบาลวังสะพุง 1 อ.วังสะพุง จ.เลย

ผู้ติดตาม